วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สุนัข


สุนัข หรือ หมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ออกลูกเป็นตัว ลำตัวมีขนปกคลุม มีเขี้ยว 2 คู่ เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้ อวัยวะเพศของตัวผู้มีกระดูกอยู่ภายใน 1 ชิ้น ที่ยังคงเป็นสัตว์ป่า เช่น หมาใน (Cuon alpinus) ที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน คือ ชนิด Canis lupus familiaris สุนัขเป็นสัตว์ที่มีหลายพันธุ์ เช่น ลาบราดอร์, โกลเด้น, ชิวาวา และอีกมากมาย มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ดุและไม่ดุ พันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น โกลเด้น ลาบราดอร์ ที่มีขนาดเล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ ส่วนที่ดุ ได้แก่ ร็อดไวเลอร์ อัลเซเชียน สุนัขแต่ละพันธุ์จะมีนิสัยแตกต่างกัน
สุนัขพัฒนามาจากสัตว์กินเนื้อและล่าเหยื่อ ดังนั้นวิวัฒนาการของฟันสำหรับเคี้ยวเนื้อและกระดูกจึงยังคงมีอยู่ รวมทั้งการมีประสาทดมกลิ่นและตามล่าเหยื่อที่ดีมาก นอกจากนี้สุนัขยังมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงทำให้วิ่งได้เร็วและเร่งความเร็วได้เท่าที่ต้องการ ลักษณะการเดินของสุนัขจะทิ้งน้ำหนักตัวบนนิ้วเท้า ซึ่งส่งผลให้สุนัขเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วกว่าสัตว์ชนิดอื่น นอกจากนี้สุนัขยังมีสัญชาตญาณในการทำงานเป็นกลุ่ม ดังนั้นสุนัขจึงสามารถล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สุนัขมีต้นกำเนิดมาจากสุนัขป่า มนุษย์แถบขั้วโลกเหนือนำมันมาเลี้ยงเมื่อประมาณ 12,000 ปีที่แล้ว เชื่อกันว่า สุนัขป่าตัวแรกนั้น เกิดขึ้นเมื่อ 100 ล้านปีก่อน การอพยพข้ามถิ่นและทวีปต่าง ๆ ทำให้สุนัขมีหลายสายพันธุ์ ชาวจีนมีความเชื่อว่าสุนัขที่ชื่อ Fu มีความซื่อสัตย์ และนำความเจริญมาให้ เป็นสุนัขคล้ายพันธุ์ปักกิ่ง "อนูบิส" ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าอียิปต์ที่ตัวเป็นคน หัวเป็นสุนัข และเชื่อว่าสามารถส่งวิญญาณมนุษย์ได้
สุนัขพันธุ์ที่เรียกได้ว่าเป็นสุนัขพันธุ์ต้นตระกูลคือพันธุ์สุนัขทองที่มีอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ต่อมามีสุนัขป่าอีกพันธุ์หนึ่งที่มนุษย์นำมาเลี้ยงมีชื่อภาษาละตินว่า Conis Lupees ซึ่งแปลว่าสุนัขป่า สุนัขป่าชนิดนี้จะเชื่องกว่าสุนัขธรรมดา มีขนยาว หางเป็นแผง หูตั้ง กระดูกแก้มโหนก และหางของมันจะเอนขึ้นข้างบน มีนิสัยรักอิสระกว่าสุนัขทอง สุนัขป่านี้เมื่อมาอยู่กับมนุษย์ก็ผสมพันธุ์กับสุนัขทอง ออกลูกหลานสืบมาเป็นสุนัขพันธุ์ต่าง ๆ มากมาย พันธุ์สุนัขที่เห็นทุกวันนี้ได้รับเชื้อสายมาจากสุนัขพันธุ์ทองเกือบทั้งหมด
การค้นคว้าวิจัยและศึกษาเรื่องราวของสุนัข ได้มีขึ้นในประเทศอังกฤษ ในแถบยุโรปและอเมริกา แล้วจึงแพร่หลายไปในส่วนต่าง ๆ ของโลก ในสหรัฐอเมริกาได้มีการจัดตั้งเป็นสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขขึ้นในปี ค.ศ. 1878 (พ.ศ. 2421) สุนัขพันธุ์แท้ชนิดแรกที่ได้จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกาคือ สุนัขพันธุ์อิงลิชเซทเตอร์ ในประเทศอังกฤษได้มีการรวบรวมกันตั้งสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขขึ้นเช่นกันในปี ค.ศ. 1859 (พ.ศ. 2402) ในครั้งแรกสมาคมนี้ได้รับรองให้จดทะเบียนสุนัขพันธุ์แท้ได้ 40 สายพันธุ์ และได้จัดวิธีการรับรองสุนัขพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อความเหมาะสมถึง 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1881 (พ.ศ. 2424) สมาคมนี้ได้ให้การรับรองพันธุ์แท้ต่าง ๆ รวมเป็นจำนวน 46 พันธุ์ การแก้ไขเพิ่มเติมการรับรองเป็นสุนัขพันธุ์แท้เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2417) ได้มีสุนัขที่ให้การรับรองทั้งหมด 100 สายพันธุ์
สำหรับในประเทศไทยนั้น ก็มีผู้สนใจการเลี้ยงสุนัขรวบรวมกันจัดตั้งสมาคมขึ้นเช่นกัน โดยปรารถนาจะส่งเสริมบำรุงและอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้เลี้ยงสุนัขเหมือนกับต่างประเทศ โดยใช้ชื่อว่า สมาคมผู้นิยมสุนัขแห่งประเทศไทย ได้ทำการจดทะเบียนตั้งสมาคมเมื่อปี ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) ถือเป็นการวางรากฐานในการเลี้ยงสุนัขขึ้นในประเทศไทยเป็นแห่งแรก และตั้งใจที่จะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้เลี้ยงสุนัขในประเทศไทยได้เช่นเดียวกับต่างประเทศ

ปะการัง



ปะการัง เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในชั้นแอนโธซัวและจัดเป็นพวกดอกไม้ทะเล มีขนาดเล็กเรียกว่าโพลิฟ แต่จะอาศัยรวมกันอยู่เป็นโคโลนีที่ประกอบไปด้วยโพลิฟเดี่ยวๆจำนวนมาก เป็นกลุ่มที่สร้างแนวปะการังที่สำคัญพบในทะเลเขตร้อนที่สามารถดึงสารแคลเซียมคาร์บอเนตจากน้ำทะเลมาสร้างเป็นโครงสร้างแข็งเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้
หัวของปะการังหนึ่งๆโดยปรกติจะสังเกตเห็นเป็นสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆอันหนึ่ง แต่ที่จริงนั้นมันประกอบขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆขนาดเล็กนับเป็นพันๆโพลิฟโดยในทางพันธุ์ศาสตร์แล้วจะเป็นโพลิฟชนิดพันธุ์เดียวกันทั้งหมด โพลิฟจะสร้างโครงสร้างแข็งที่มีลักษณะเฉพาะของปะการังแต่ละชนิด หัวของปะการังหนึ่งๆมีการเจริญเติบโตโดยการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศของโพลิฟเดี่ยวๆ แต่ปะการังก็สามารถสืบพันธุ์ออกลูกหลานโดยการใช้เพศกับปะการังชนิดเดียวกันด้วยการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์พร้อมๆกันตลอดหนึ่งคืนหรือหลายๆคืนในช่วงเดือนเพ็ญ
แม้ว่าปะการังจะสามารถจับปลาและสัตว์เล็กๆขนาดแพลงตอนได้โดยใช้เข็มพิษ (เนมาโตซิสต์) ที่อยู่บนหนวดของมัน แต่ส่วนใหญ่แล้วปะการังจะได้รับสารอาหารจากสาหร่ายเซลล์เดียวที่สังเคราะห์แสงได้ที่เรียกว่าซูแซนทาลา นั่นทำให้ปะการังทั้งหลายมีการดำรงชีวิตที่ขึ้นตรงต่อแสงอาทิตย์และจะเจริญเติบโตได้ในน้ำทะเลใสตื้นๆโดยปรกติแล้วจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีความลึกน้อยกว่า 60 เมตร ปะการังเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้สร้างโครงสร้างทางกายภาพของแนวปะการังที่พัฒนาขึ้นมาในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนอย่างเช่นเกรตแบริเออร์รีฟบริเวณนอกชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์ของประเทศออสเตรเลีย แต่ก็มีปะการังบางชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายเนื่องจากอยู่ในทะเลลึกอย่างในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ปะการังสกุล “โลเฟเลีย” ที่อยู่ได้ในน้ำเย็นๆที่ระดับความลึกได้มากถึง 3000 เมตร ตัวอย่างของปะการังเหล่านี้สามารถพบได้ที่ดาร์วินมาวด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเคพแวร็ธในสก๊อตแลนด์ และยังพบได้บริเวณนอกชายฝั่งมลรัฐวอชิงตันและที่เกาะเอลิวเตียนของอลาสก้า

กุ้ง

กุ้ง (อังกฤษ: Shrimp) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในวอกมือด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช

การนอน


การนอนหลับ คือ สภาวะทางร่างกายขณะไม่มีสติสัมปชัญญะเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนคืนแล้วคืนเล่า แม้ว่าจะให้มนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างสม่ำเสมอ ไม่มีสัญญาณใดๆ บ่งบอกเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ตามการง่วงหลับและการตื่นขึ้นก็จะยังสามารถเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติ
โดยทั่วไปเรามักเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนต้องการนอนหลับพักผ่อน 7 - 9 ชั่วโมงจึงเพียงพอ แต่ความเป็นจริง มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องการนอนน้อยกว่านี้ก็ทำให้สดชื่นได้ สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในช่วงกลางวัน ได้เป็นปกติ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องการนอนมากกว่า 8 ชั่วโมงจึงจะพอ
ในทารกแรกเกิดพบว่าเด็กนอนได้เกือบตลอดทั้งวัน ยกเว้นช่วงที่ตื่นขึ้นมากินนม เมื่ออายุได้ 1 ขวบ เวลา นอนและเวลาตื่นจะเท่าๆ กันคือ 12 ชั่วโมง ในเด็กโตความต้องการนอนจะลดเหลือประมาณ 10 ชั่วโมง ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ต้องการการนอน 7-8 ชั่วโมง บางคนนอนน้อยกว่านี้ (< 6 ชั่วโมง) และ บางคนมากกว่านี้ (>9 ชั่วโมง) เช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นอนหลับมากกว่า 10 ชั่วโมงในแต่ละคืน แต่วิคเตอร์ ฮิวโก และวินสตัน เชอร์ชิลล์ ไม่นอนเกิน 5 ชั่วโมงต่อคืน การนอนจะเริ่มลดระยะเวลาลง เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ในผู้สูงอายุเวลาการนอนกลางคืนจะลดลง ตื่นบ่อย และมักนอนกลางวัน
ดังนั้นมนุษย์แต่ละคนต้องการการนอนไม่เท่ากัน นอนเท่าไรถึงจะเพียงพอจึงขึ้นอยู่กับความรู้สึก เฉพาะตัวที่ทำให้สดชื่น และกระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะทำงานในวันใหม่ได้อย่างเต็มที่ การนอนหลับสำคัญกว่าที่เราคิด ถึงแม้มนุษย์จะนอนหลับคืนแล้วคืนเล่า แต่การนอนหลับเป็น กิจกรรมที่เข้าใจยากที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ ทั้งที่ช่วงการ นอนหลับเป็นช่วงที่อันตรายที่สุด เพราะการรับรู้โลกภายนอก และความสามารถในการป้องกันตนเองจะลดลงอย่างมาก ปลาโลมาซึ่งต้องขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำเป็นระยะๆ ยังนอนหลับ โดยที่มีสมองอีกซีกหนึ่งตื่นอยู่เสมอ การศึกษาของมูลนิธิการนอนหลับแห่งชาติ (National Sleep Foundation) สหรัฐอเมริกาพบว่า 21% ของ ประชาชนอเมริกันมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ จนถึงขั้นมีปัญหา ง่วงนอน และรบกวนความสามารถในการทำงานช่วงกลางวัน
อย่างน้อย 2-3 วัน ต่อสัปดาห์ และที่น่าตกใจคือ 17% ของชาวอเมริกันเคยงีบหลับขณะขับรถในช่วงปี ที่ผ่านมา โดยที่ 1-3% ของอุบัติเหตุทางรถยนต์มาจากความง่วงนอนของคนขับ จากหลายสาเหตุทั้ง การอดนอนจากการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่น การทำงานเป็นผลัดโดยเฉพาะกะกลางคืน การดื่มสุราและ การใช้ยาที่มีส่วนกดระบบประสาท เช่น ยาแก้หวัดบางชนิด และโรคที่รบกวนการนอน
เมื่อคนเราอดนอนจะทำให้เกิดปัญหาทางอารมณ์ เพราะเกิดความไม่สมดุลในร่างกายและจิตใจ เช่น หงุดหงิด อามรณ์แปรปรวน ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เกิดปัญหาการมองเห็น เช่นอาการร้อนในลูกตา แสบตา เห็นภาพผิดปกติ หรือประสาทหลอน (หลังอดนอน 3 วัน) บางคนมีอาการเหมือนเข็มแทงที่มือ และเท้า และจะไวต่อความเจ็บปวดมาก
การอดนอน คือ การนอนไม่เพียงพอทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ จะทำให้เกิด “หนี้การนอน (sleep debt)” ซึ่งจะได้รับการชดเชยเสมอในการนอนหลับคืนถัดไป ถ้าเราอดนอนมากเกินไปหรืออดนอน คืนละน้อยแต่หลายคืนติดต่อกัน มันจะสะสมจนเกิดความง่วงจนไม่สามารถฝืน และอาจหลับในได้ ในเวลาต่อมา ช่วงที่เราง่วงหรือหลับใน เป็นช่วงที่ความสามารถในความจำ การตัดสินใจ การทำงาน ประสานกันของกล้ามเนื้อลดลงจนขาดหายไป และนำไปสู่อุบัติเหตุต่างๆ ได้ง่ายที่สุด
ปัญหาที่อาจพบได้ในขณะนอนหลับ สำหรับบางคนจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาภายในร่างกายขณะนอนหลับ ซึ่งอาจจะเกิดการ ขาดลมหายใจ หรือมีลมหายใจลดลงเป็นระยะในช่วงการนอนหลับ (sleep apnea-hypopnea syndrome) ขึ้นได้ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ รวมถึงทำให้คุณภาพและปริมาณการ นอนหลับไม่ดีพอด้วย ในระยะยาวมีโอกาสจะทำให้บุคคลนั้นเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์อีกด้วย ประเด็นนี้ยังรวมถึงโรคไหลตายที่พบมากในคนอีสาน และในต่างประเทศที่เป็นกันมาก โดยยังไม่มีผู้พิสูจน์สาเหตุได้แจ่มชัดจนวันนี้

ขนมจีน

ขนมจีน เป็นอาหารคาวอย่างหนึ่งของไทย ประกอบด้วยเส้นเรียกว่า เส้นขนมจีน และน้ำยา หรือน้ำยาขนมจีน เป็นที่นิยมทุกท้องถิ่นของไทย แต่มีการปรุงน้ำยาแตกต่างกัน
แม้ว่า ขนมจีน จะมีคำว่า "ขนม" แต่ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับขนมใดๆ ขณะเดียวกัน แม้จะมีคำว่า "จีน" แต่ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาหารของจีน ภาษาเหนือเรียก ขนมเส้น ภาษาอิสาน เรียก ข้าวปุ้น จะมีขนมจีนชนิดหนึ่งซึ่งใกล้เคียงกับขนม คือ ขนมจีนซาวน้ำ เพราะมีรสหวาน
เส้นขนมจีนแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ
  • ขนมจีนแป้งหมัก ใช้การหมักแป้งข้าวเจ้าโดย นำแป้งข้าวเจ้ามาแช่น้ำให้นิ่ม และนำไปโม่ก่อนหมักประมาณเจ็ดวันเมื่อหมักแล้วจึงนำมานวดในเครื่องนวดแป้ง
  • ขนมจีนแป้งสด ใช้วิธีการผสมแป้งข้าวเจ้า ไม่ต้องทิ้งไว้แล้วจึงนำมานวดในเครื่องนวดแป้ง
หลังจากนวดแป้งแล้วจะเทแป้งใส่กระบอกทองเหลือง มีรูเจาะไว้ที่ปลายด้านหนึ่ง เมื่อกดแป้งเข้าไปในกระบอก เส้นขนมจีนก็จะไหลออกจากปลายกระบอก เป็นเส้นกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 - 1.5 มิลลิเมตร เมื่อได้เส้นแล้วก็ทำต้มในน้ำร้อนเดือดเพื่อทำความสะอาด แล้วนำมาร้าดด้วยน้ำสะอาดอีกทีหนึ่ง เส้นขนมจีนที่ได้ จะจัดเรียงเอาไว้เป็นกลุ่มๆ ขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือ บางถิ่นเรียก จับ หรือ หัว เมื่อเรียงในจานสำหรับรับประทาน จะใส่ประมาณ 3-4 จับ

ความเกลียดชัง

ความเกลียดชัง เป็นอารมณ์หนึ่งของมนุษย์ที่แสดงถึงความไม่ชอบ หรือ ปฏิกิริยาที่แสดงความไม่เห็นด้วย กับผู้อื่น บางครั้งพบว่าความเกลียดชังเป็นอาการที่เกิดจากการดูถูกตนเอง มากกว่าจากการถูกข่มเหงรังแก
ความเกลียดชัง ตรงข้ามกับความรัก สามารถลดอาการเกลียดชังได้ด้วยการหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เกลียดชัง แต่หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เราเกลียดชังได้ ก็ควรหลับตา ระลึกถึงแต่สิ่งที่สวยงาม และทำให้เรามีความสุข ที่สำคัญเราควรระงับอารมณ์เกลียดชังให้อยู่ เพราะบางครั้งอารมณ์เกลียกชังก็นำพาเราไปสู่ความรุนแรงได้ บางครั้งความเกลียดชังสามารถแก้ได้ด้วยการให้อภัย
ในเชิง จิตวิทยา, ซิกมุนด์ ฟรอยด์ นิยามความเกลียดชังว่าเป็นความพยายามทำลายต้นกำเนิดแห่งความไม่มีความสุข

ดวงตา

   ดวงตา เป็นอวัยวะสำคัญที่มีบทบาทและมีคุณค่ามากสำหรับเราทุกคน ประมาณกันว่า 70 – 80 % ของสิ่งที่เรารับรู้ และเรียนรู้ ได้มาจากการมองเห็น การมองเห็นที่ชัดเจน จึงมีความสำคัญมากในการมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุข สายตาปกติเป็นผลของการที่แสงโฟกัสผ่านกระจกตา (Cornea) และเลนส์แก้วตา (Crystalline Lens) ลงพอดีที่จอประสาทตา(Retina) ถ้ากำลังการรวมแสง (Refractive power) ของตาไม่พอดีกับความยาวลูกตา เป็นผลให้การรวมแสงของตาตกไม่พอดีที่จอประสาทตา เกิดภาวะสายตาผิดปกติ (Refractive errors หรือ Ametropia)
            การวัดสภาพสายตานั้นมักที่จะใช้ค่าในการวัดเป็น Diopterารมองเห็นในระดับ 20 /20 เป็นการมองเห็นด้วยตาเปล่าในระดับปกติซึ่งวัดที่ระยะห่าง 20 ฟุต หากท่านมีระดับการมองเห็นในระดับ 20/20 ท่านสามารถมองเห็นได้ชัดเจนในระยะ 20 ฟุต แต่หากท่านมีการมองเห็นในระดับ 20/40 หมายถึงท่านต้องเข้ามาใกล้ในระดับ 20 ฟุต จึงสามารถมองเห็นสิ่งที่คนสายตาปกติมองเห็นได้ในระยะ 40 ฟุตได้ การมองเห็นในระดับ 20/20 ไม่ใช่การมองเห็นที่ดีที่สุด แต่แสดงให้เห็นความชัดเจนของการมองเห็นในระยะห่าง 20 ฟุตเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการมองเห็นอื่นๆ ที่สำคัญอีก ประกอบด้วย การมองเห็นด้านข้าง การทำงานร่วมกันของดวงตา ระดับในการมองเห็น ความสามารถในการรวมแสง และการมองเห็นสี ซึ่งรวมกันเป็นความสามารถในการมองเห็นโดยรวม